แผนการปฏิบัติการโครงการจัดการประมงโดยชุมชนบริเวณอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
นามธรรม
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการนำขึ้นมาใช้จนเกินศักย์การผลิตตามธรรมชาติ ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำ การประมง และผลกระทบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้ทรัพยากรประมง ทำให้กรมประมงต้องกำหนดมาตรการการจัดการประมงต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การปิดพื้นที่ และฤดูกาลทำประมง การควบคุมจำนวนและขนาดตาอวนของเครื่องมือประมง การปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงที่มีลักษณะทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ การกำหนดเขตทำการประมงสำหรับเครื่องมือประมงบางชนิด เป็นต้น การจัดการประมงโดยชุมชนเป็นแนวทางจัดการปัญหาแนวใหม่ที่กรมประมงได้พยายามนำมาทดลองใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อหารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้กับชุมชนประมงทะเล บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย และแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันที่สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ และอนุรักษ์ทรัพยากร การทำงานเป็นกลุ่ม ระดมความคิด และการมีส่วนร่วมเป็นหัวใจของการจัดการประมงโดยชุมชน รวมทั้งการสำรวจข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะนำไปประกอบการตัดสินใจในการจัดการประมง ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) เป็นองค์กรสำคัญที่สนับสนุนโครงการการจัดการประมงโดยชุมชน ในด้านการให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านวิชาการ และการฝึกอบรม กรมประมงคาดหวังเป็นอย่างสูงที่โครงการการจัดการประมงโดยชุมชน บริเวณอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จะสามารถดำเนินการสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดและสามารถนำผลไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยและพัฒนาไปส่งเสริมเพื่อทดลองใช้ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
คอลเลกชัน
- Fishery Biology [22]