การแพร่กระจายของปริมาณน้ำในดินตะกอนและสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Distribution of Water Content and Total Organic Matter in Sediments of the Central Gulf of Thailand)
抄録
การศึกษาการกระจายของปริมาณน้ำและสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนอ่าวไทยตอนกลาง โดยการเก็บตัวอย่างดินตะกอนจากสถานีสำรวจรวม 45 สถานี ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2556 พบว่า ที่ระดับผิวหน้าดินตะกอน 0-0.5 เซนติเมตร ปริมาณน้ำในดินตะกอนมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 34.26-78.02 โดยมีค่าสูงสุดบริเวณสถานีที่ 25 ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะอ่างทอง และต่ำสุดบริเวณสถานีที่ 2 ใกล้กับชายฝั่ง อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่วนดินตะกอนที่ระดับความลึก 1-2 และ 2-3 เซนติเมตร พบปริมาณน้ำในดินมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 31.24-81.51 และ 30.73-81.16 ตามลำดับ โดยที่สถานีที่ 25 เป็นบริเวณที่พบปริมาณน้ำในดินตะกอนสูงสุดทั้ง 3 ระดับความลึก และสถานีที่ 2 เป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำในดินตะกอนต่ำที่สุดทั้ง 3 ระดับความลึก เช่นกัน สำหรับปริมาณสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนที่ระดับผิวหน้าดินตะกอน 0-0.5 เซนติเมตร มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 4.7-18.6 ของน้ำหนักดินแห้ง โดยพบค่าสูงสุดที่บริเวณสถานีที่ 7 ซึ่งเป็นแนวนอกชายฝั่งจังหวัดระยอง และต่ำสุดบริเวณสถานีที่ 1 ใกล้กับชายฝั่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนดินตะกอนที่ระดับความลึก 1-2 และ 2-3 เซนติเมตร มีปริมาณสารอินทรีย์ในดินอยู่ระหว่างร้อยละ 4.1-15.7 และ 0.8-19.1 ตามลำดับ โดยภาพรวมสามารถพบปริมาณสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนมีค่าสูงอย่างชัดเจนเป็นบริเวณกว้าง 2 บริเวณ คือ บริเวณใกล้กับแนวชายฝั่งจังหวัดระยองและจันทบุรี และบริเวณทางตอนเหนือของหมู่เกาะอ่างทอง
Research on distribution of water content (WC) and total organic matter (TOM) of marine sediments in the Central Gulf of Thailand was carried out by collecting sediment from 45 sampling stations during 14 March to 12 April 2013. Sediment samples from box corer were cut vertically into 4 depth ranges as 0-0.5, 0.5-1, 1-2 and 2-3 cm. Water content of surface sediment (0 to 0.5 cm) ranged from 34.26% to 78.02%. The highest water content was found at station 25 (northern part of Ang-Thong Islands) whereas the lowest value was found at station 2 (close to the coast of Sattahip district, Chonburi province). For the sediments at the depth of 1-2 and 2-3 cm, water content ranged from 31.24% to 81.51% and 30.73% to 81.16%, respectively. Station 25 was found to have the highest water contents in all sediment depth whereas station 2 was also showed the lowest water contents throughout the depth. Total organic matter (TOM) in the surface sediment (0-0.5 cm) ranged from 4.7 to 18.6 percent dry weight. The highest TOM was found at station 7 located offshore of Rayong province when the lowest TOM was found at station 1 (close to the coast of Prachuap Khiri Khan province). Total organic matter in the sediment of 1-2 and 2-3 cm depths ranged from 4.1 to 15.7 and 0.8-19.1 percent dry weight, respectively. Overall results demonstrated that the high total organic matter in the Gulf of Thailand could be found in two major areas. First one was closed the coast of Rayong and Chanthaburi provinces and another one could be found around the northern part of Angthong Islands.
Citation
เมฆสัมพันธ์, เ., เกษมศิริ, ภ., & มารบุญ, ม. (2013). การแพร่กระจายของปริมาณน้ำในดินตะกอนและสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง. การสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางโดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556 (pp. 53-63). สมุทรปราการ: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.