โครงสร้างประชากรแบคทีเรียในทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (Population Structure of Bacteria in the Central Gulf of Thailand)
นามธรรม
พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกประกอบด้วยบริเวณที่เป็นทะเลและมหาสมุทรเชื่อมต่อกันประมาณร้อยละ 71 ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับทะเล 2 ส่วน คือ ทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยจะมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่และขยายพันธุ์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึงจุลินทรีย์ในบริเวณนี้ล้วนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต โดยพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความหลาก หลายของจุลินทรีย์ ได้แก่ กิจกรรมของมนุษย์ ฤดูกาล อุณหภูมิ ปริมาณแสง ระดับความลึกของน้ำและระยะห่างจากชายฝั่ง ดังนั้นการ สร้างฐานข้อมูลที่สมบูรณ์และติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงจำนวนและชนิดของประชากรแบคทีเรีย โดยเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้กับข้อมูล สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นจะทำให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นในความซับซ้อนของระบบนิเวศ อย่างไรก็ดี วิธีศึกษาความหลากหลาย โดยการเพาะเลี้ยงสามารถพบเพียงน้อยกว่า 0.01% โครงการวิจัยนี้จึงทำการสร้างฐานข้อมูลโครงสร้างประชากรแบคทีเรียที่สมบูรณ์ที่พิกัดและระดับความลึกต่าง ๆ ของน้ำทะเลอ่าวไทยตอนกลางโดยวิธีไม่เพาะเลี้ยง เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่แท้จริงที่ไม่ขึ้นกับการเพาะเลี้ยง
Earth's surface is covered by sea and ocean for approximately 71%. In Thailand, the marine time zones comprise the Gulf of Thailand, and the Andaman Sea. These zones are enriched with marine lives, habitats and hatchery place. Organisms and microorganism all have intricate relationships in the marine ecosystems. Influencing factors include anthropogenic activity, season, temperature, sunlight, water depth, and distances from the seashore. Hence, complete database for current and ongoing numbers and types of bacteria, relevant to physical and chemical properties help understand these complex marine ecosystems. However, culturedependent biodiversity study generally discovers less than 0.01%. The present study thereby use cultureindependent method to obtain bacterial profiles of different marine geographical coordinates and depths of the Central Gulf of Thailand.
การอ้างอิง
สมบูรณ์นะ, น., & ศรีพันธ์, ด. (2013). โครงสร้างประชากรแบคทีเรียในทะเลอ่าวไทยตอนกลาง. การสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางโดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556 (pp. 72-75). สมุทรปราการ: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.