ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง โดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556: Recent submissions
1-20 / 27
-
การสังเกตการณ์กิจกรรมประมงและกิจกรรมอื่นๆ ในพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง (Visual Observation on Fishing Activities and Others in the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การสังเกตกิจกรรมประมงและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตลอดเส้นทางการเดินเรือของเรือซีฟเดค ในเที่ยวเรือการสำรวจศึกษาวิจัยทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ... -
การสำรวจและการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำหน้าดิน ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยตอนกลางด้วยเครื่องมือประมงลอบและเบ็ดราวหน้าดินแนวตั้ง (Demersal Fishery Resources Survey and Sampling by Trap and Bottom Vertical Longline in the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การทำประมงด้วยเครื่องมือลอบและเบ็ดราวหน้าดินแนวตั้งครั้งนี้ ประสงค์ที่จะสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในเที่ยวเรือสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ... -
ลักษณะพื้นทะเล และความชุกชุมของสัตว์น้ำหน้าดินในอ่าวไทย โดยใช้กล้องบันทึกวิดิทัศน์ใต้น้ำ (Seafloor Characteristic and Abundance of Epifauna in the Gulf of Thailand by Under Water VDO Camera)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)กล้องบันทึกวิดิทัศน์ใต้น้ำ Sea Viewer Under Water System ถูกติดเข้ากับโครงเลื่อน และหลอดไฟฮาโลเจน 150 วัตต์ เพื่อบันทึกภาพพื้นทะเล และสัตว์น้ำหน้าดิน ขณะเรือลอยลำ บริเวณจุดสำรวจ 13 จุด ในอ่าวไทย ที่มีความลึก 20 – 71 เมตร ... -
ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของปูบริเวณอ่าวไทย (The Species Richness of Crabs and Theirs Distribution in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)ศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของปูในอ่าวไทยด้วยเรือสำรวจ M.V.SEAFDEC โดยทำการเก็บตัวอย่างปูจาก 24 สถานีเก็บตัวอย่างด้วยลอบและคราด พบว่าปูมีความหลากชนิดทั้งสิ้น 72 ชนิด 47 สกุล และ 13 วงศ์ วงศ์ที่มีความหลากชนิดที่สุด ... -
ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่โดยการลากคราดในอ่าวไทย (Diversity of Marine Macro-benthic Animals Collected by Dredging in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)จากการศึกษาความหลากหลายทางชนิดและปริมาณของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ โดยใช้คราด ในอ่าวไทย ปีพ.ศ. 2556 ได้ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 24 สถานี จาก 45 สถานีที่มีการลงเครื่องมือประมงโดยเรือสำรวจ “ซีฟเดค” ... -
สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กจากพื้นทะเลอ่าวไทย (Meiofauna on the Seafloor of the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในชั้นตะกอนพื้นทะเลทั้งในบริเวณชายฝั่งจนถึงทะเลลึก สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหารของสัตว์ทะเลต่างๆ และยังมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม จึงทำให้สามารถนำมาใช้เป ... -
ความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของแบคทีเรียและยีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในดินตะกอนจากอ่าวไทย (Diversity and Abundance of Bacteria and Genes Involved in Biodegradation of Petroleum Hydrocarbons in Sediment from Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)อ่าวไทยเป็นที่พื้นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันดิบ และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons, PAHs) ซึ่งสารประกอบเหล่านี้คงอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่ ... -
การสำรวจเบื้องต้นของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในอ่าวไทย (Preliminary Survey of Marine Mammals in Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การสำรวจเบื้องต้นของชนิดและการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในอ่าวไทย ระหว่างวันที่ 3–10 เมษายน 2556 บริเวณอ่าวไทยตอนกลางและอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ด้วยวิธี Distance line transect โดยเรือวิจัยซีฟเดค (M.V.SEAFDEC) ... -
การแพร่กระจายและความชุกชุมของลูกหมึกวัยอ่อนในอ่าวไทย (Distribution and Abundance of Cephalopod Paralarvae in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)ศึกษาการแพร่กระจายและความชุกชุมของลูกหมึกวัยอ่อนในอ่าวไทยโดยเรือสำรวจซีฟเดค ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ถึง 11 เมษายน 2556 เก็บตัวอย่างโดยถุงลากแพลงตอนก์แบบบองโก้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 55 เซนติเมตร และขนาดตาถุง 330 ไมครอน ... -
องค์ประกอบและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณอ่าวไทย (Composition and Distribution of Fish Larvae in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)ศึกษาองค์ประกอบและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนในอ่าวไทย บริเวณจุดเก็บตัวอย่างรวม 45 สถานี ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 11 เมษายน 2556 โดยเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC การเก็บตัวอย่างประกอบด้วย 1) การลากแพลงก์ตอนในแนวเฉียง ตั้งแต่ ... -
การศึกษาองค์ประกอบของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณอ่าวไทย (A study Composition of Zooplankton in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)ศึกษาองค์ประกอบของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณอ่าวไทย โดยทำการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ด้วยถุงลากขนาดตา 315 ไมครอน ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ถึง 12 เมษายน พ.ศ.2556 รวมทั้งสิ้น 45 สถานี ผลการศึกษา พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด 11 ไฟลัม ... -
การศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Study on Distribution of Phytoplankton in the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางชนิด ความหนาแน่น และลักษณะการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชในพื้นที่ศึกษา จากการสำรวจในช่วงวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. ... -
องค์ประกอบของกลุ่มนาโนแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวไทย (Groups Composition of Nanoplankton in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การศึกษากลุ่มของนาโนแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวไทยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2556 โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 45 สถานี นำไปศึกษากลุ่ม ปริมาณ และความหนาแน่นด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาพบนาโนแพลงก์ตอนทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ ... -
โครงสร้างประชากรแบคทีเรียในทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (Population Structure of Bacteria in the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกประกอบด้วยบริเวณที่เป็นทะเลและมหาสมุทรเชื่อมต่อกันประมาณร้อยละ 71 ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับทะเล 2 ส่วน คือ ทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยจะมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่และขยายพันธุ์ ... -
สารอาหารและผลผลิตขั้นต้นในอ่าวไทย (Nutrients and Primary Productivity in the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)จากการสำรวจปริมาณสารอาหารและผลผลิตขั้นต้นในอ่าวไทย 45 สถานี ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ถึง 12 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยเก็บตัวอย่างน้ำตามระดับความลึกเพื่อวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต ฟอสเฟต ซิลิเคต คลอโรฟิลล์-เอ และ ... -
ลักษณะทางตะกอนวิทยาและการปนเปื้อนของปรอทและสารหนูในดินตะกอนอ่าวไทย (Sedimentological Characteristics and Contamination of Mercury and Arsenic in Sediment of the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)จากการศึกษาดินตะกอนระดับผิวจากอ่าวไทยจำนวน 45 ตัวอย่าง พบว่าท้องทะเลอ่าวไทยมีสภาพรีดิงซ์ ดินตะกอนค่อนข้างหยาบโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของอ่าวไทยตอนกลางที่ต่อเนื่องกับอ่าวไทยตอนบนจะหยาบที่สุด มีลักษณะเป็นทรายปนโคลนจนถึงทราย ... -
ระดับการปนเปื้อนของปรอทในน้ำทะเลอ่าวไทย (Contamination Level of Mercury in Seawater of the Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)จากการวิเคราะห์ปริมาณปรอททั้งหมด (Hg-T) ในน้ำทะเลอ่าวไทย 45 สถานี ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ถึง 12 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยเก็บตัวอย่างน้ำที่ 2 ระดับความลึก คือ ระดับผิว (5 เมตร ใต้ผิวน้ำ) และระดับเหนือดินตะกอน (5 เมตร เหนือตะกอน) ... -
ปริมาณสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Total Petroleum Hydrocarbons in Seawater of the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)ศึกษาการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทย ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน 2556 จำนวน 45 สถานี พบปริมาณความเข้มข้นของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทย มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง ... -
การแพร่กระจายของปริมาณน้ำในดินตะกอนและสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Distribution of Water Content and Total Organic Matter in Sediments of the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การศึกษาการกระจายของปริมาณน้ำและสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนอ่าวไทยตอนกลาง โดยการเก็บตัวอย่างดินตะกอนจากสถานีสำรวจรวม 45 สถานี ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2556 พบว่า ที่ระดับผิวหน้าดินตะกอน 0-0.5 เซนติเมตร ... -
ชนิดและการแพร่กระจายของปลาหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Species and Distribution of Cephalopods in the Central Gulf of Thailand)
(สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2013-12)การสำรวจชนิดและการแพร่กระจายของปลาหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม - 12 เมษายน 2556 โดยเรือสำรวจ M.V.SEAFDEC ทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 25 สถานี ความลึกของน้ำทะเลอยู่ระหว่าง 20-71 เมตร ด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด ...