องค์ประกอบของกลุ่มนาโนแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวไทย (Groups Composition of Nanoplankton in the Gulf of Thailand)
นามธรรม
การศึกษากลุ่มของนาโนแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวไทยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2556 โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 45 สถานี นำไปศึกษากลุ่ม ปริมาณ และความหนาแน่นด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาพบนาโนแพลงก์ตอนทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ ไซยาโนแบคทีเรีย ไดอะตอมสาหร่ายสีเขียว ไดโนแฟลกเจลเลต ซิลิโคแฟลกเจลเลตและโปรโตซัว (ฟอแรมมินิเฟอรา) โดยสถานีที่ 9 มี นาโนแพลงก์ตอนหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 80.4x103 เซลล์ต่อลิตรและสถานีที่ 30 ไม่พบประชากรนาโนแพลงก์ตอน การแพร่กระจายของนาโนแพลงก์ตอนในแต่ละสถานีพบว่า กลุ่มสาหร่ายสีเขียวและกลุ่มไดอะตอมเป็นกลุ่มเด่นที่พบหนาแน่นสูงสุด รองลงมาคือ กลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย ส่วนกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ซิลิโคแฟลกเจลเลต และกลุ่มโปรโตซัว พบในบางสถานี โดยการแพร่กระจายส่วนใหญ่จะพบหนาแน่นมากบริเวณที่ใกล้กับชายฝั่ง
Nanoplankton groups in the Gulf of Thailand were collected from 45 stations between March and April 2013. Nanoplankton were identified under microscope. They were composed of 6 groups that Cyanobacteria, Green algae, Diatoms, Dinoflagellates, Silicoflagellates and Protozoa (Foraminifera). The average density of nanoplankton ranges from not found to 80.4x103 cells.L-1 at station 30 and 9 respectively. Nanoplankton groups were dominated by Green algae, Diatom and Cyanobacteria respectively. Some stations were dominated by Dinoflagellates, Silicoflagellates and Protozoa (Foraminifera). High nanoplankton densities were noted in the stations located near of the cost area.
การอ้างอิง
กันบัว, ว., & สง่างาม, น. (2013). องค์ประกอบของกลุ่มนาโนแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวไทย. การสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางโดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556 (pp. 76-83). สมุทรปราการ: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.