การศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (Study on Distribution of Phytoplankton in the Central Gulf of Thailand)
นามธรรม
การศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางชนิด ความหนาแน่น และลักษณะการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชในพื้นที่ศึกษา จากการสำรวจในช่วงวันที่ 14 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2556 จำนวน 45 สถานี พบแพลงก์ตอนพืชรวม 2 ดิวิชั่น 4 คลาส 54 สกุล แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้ กลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Class Cyanophyceae) พบ 3 สกุล กลุ่มไดอะตอม (Class Bacillariophyceae) พบ 36 สกุล กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต (Class Dinophyceae) พบ 14 สกุล และกลุ่มซิลิโคแฟลกเจลเลต (Class Dictyochophyceae) พบเพียง 1 สกุล แพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นมากที่สุดที่ระดับผิวนํ้า คือ 25,960 เซลล์ต่อลิตร แพลงก์ตอนพืชสกุลที่พบชุกชุมมาก คือ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมในสกุล ได้แก่ Pseudo-nitzschia spp. Thalassionema spp. และ Chaetoceros spp. และแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในสกุล Trichodesmium spp. นอกจากนี้ยังพบมีการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชในสกุล Pseudonitzschia spp. ที่สามารถสร้างสารชีวพิษ (Domoic acid) ได้ จากผลการศึกษาโดยภาพรวม พบว่าสถานีที่อยู่บริเวณแนวชายฝั่งมักพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูงกว่าในสถานีที่ตั้งอยู่ไกลฝั่งออกไป ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลจากปริมาณสารอาหารที่ไหลลงมาจากแผ่นดิน
Research on distribution of phytoplankton in the Central Gulf of Thailand was aimed to study the species composition, cell density, and distribution pattern of phytoplankton of the study area. The survey was conducted during 14th March to 12 nd April 2013 in 45 sampling stations. The results demonstrated that 54 genera of 4 classes in 2 divisions of phytoplankton were found in the Central Gulf of Thailand, consisting of 3 genera of blue-green algae, 36 genera of diatom, 14 genera of dinoflagellate, and 1 genera of silicoflagellate. The highest density phytoplankton at surface water was estimated to be 25,960 cells per liter. The most abundant phytoplankton were diatom and blue-green algae as follow; Pseudo-nitzschia spp., Thalassionema spp. And Chaetoceros spp. and Trichodesmium spp. The outbreak of of Pseudo-nitzschia spp., the biotoxin (domoic acid) producer, was also found. Overall result indicated that high density of phytoplankton was more frequently found at the coastal areas than the offshore areas due to the influence of nutrient loading from main land.
การอ้างอิง
เมฆสัมพันธ์, เ., ถาวรโสตร์, ณ., ทองดอนพุ่ม, บ., & เวชสิทธิ์, อ. (2013). การศึกษาการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง. การสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางโดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556 (pp. 84-99). สมุทรปราการ: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.