ลักษณะพื้นทะเล และความชุกชุมของสัตว์น้ำหน้าดินในอ่าวไทย โดยใช้กล้องบันทึกวิดิทัศน์ใต้น้ำ (Seafloor Characteristic and Abundance of Epifauna in the Gulf of Thailand by Under Water VDO Camera)
นามธรรม
กล้องบันทึกวิดิทัศน์ใต้น้ำ Sea Viewer Under Water System ถูกติดเข้ากับโครงเลื่อน และหลอดไฟฮาโลเจน 150 วัตต์ เพื่อบันทึกภาพพื้นทะเล และสัตว์น้ำหน้าดิน ขณะเรือลอยลำ บริเวณจุดสำรวจ 13 จุด ในอ่าวไทย ที่มีความลึก 20 – 71 เมตร ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 11 เมษายน 2556 บนเรือ M.V. SEAFDEC ซึ่งออกปฏิบัติงานภายใต้โครงการสำรวจและฝึกภาคทะเลเรื่อง “ทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง” พื้นที่โดยรวมของจุดสำรวจเป็นพื้นราบ มีเพียงบริเวณสถานีที่ 23, 28, 35 และ 45 ที่อยู่บริเวณขอบแอ่งกระทะกลางอ่าวไทย ที่พื้นทะเลมีความต่างของความลึก พื้นทะเลโดยทั่วไปมีรูและพูนดินที่เป็นที่อยู่ของสัตว์หน้าดินทั่วบริเวณอ่าวไทยและพบจำนวนมากในสถานีที่ 21, 35, 38 และ 40 ซึ่งเป็นสถานีที่พบกิจกรรมประมงประเภทอวนล้อมซั้ง หรือใกล้บริเวณที่เป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมัน ไม่ปรากฏร่องรอยของการลากอวนหรือมีน้อยพบปลาขนาดเล็กที่อยู่เป็นกลุ่มบ่อยถึง 60 ครั้งต่อพื้นที่ 1000 ตารางเมตร กระจายทั่วบริเวณของสถานีที่ 45 ส่วนสัตว์น้ำ จำพวกปลายอดจาก ปลาเก๋า ปลาทรายแดง ปลาตุ๊กแก ปลาข้างตะเภา หมึก ซึ่งมีความยาวมากกว่า 5 ซม. พบในสถานีที่มีความลึก ตั้งแต่ 65 เมตร ขึ้นไป ได้แก่ สถานีที่ 14, 29, 35 และ 38 ในสถานีที่ 25 ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะอ่างทอง พบหอยเม่นกระจายอยู่ที่พื้นทะเลเป็นจำนวนมากถึง 858 ตัวต่อพื้นที่ 1000 ตารางเมตร บริเวณนี้มีตะกอนแขวนลอยมาก ไม่พบร่องรอยของอวนลาก บริเวณที่สำรวจทั้งหมดพบกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเกาะติด เช่น ฟองน้ำน้อยมาก โดยพบเพียง 1-2 กลุ่มเล็กๆ ใน 5 สถานี ได้แก่สถานีที่ 11, 14, 28, 40 และ 45
Under water VDO camera “Sea Viewer Under Water System” was attached in a sledge with 150 watt Halogen lamp to record seafloor and epifauna during drifting of the research vessel at 13 stations in the Gulf of Thailand in the area of depth ranged from 20 to 71 meter depth. The activities were conducted on board M.V. SEAFDEC under the Collaborative Research Survey on Fisheries Resources and Marine Environment of the Central Gulf of Thailand from 14 March to 11 April 2013. Almost of the survey areas are flat. Less slope were observed at station number 23, 28, 35 and 45 that located at the edge of Gulf of Thailand basin. It was found that there are more burrows in station no. 21, 35, 38 and 40 where are the fishing grounds of purse seine with fish aggregating device and near oil rig. Highest density of fish was observed at station no. 45 where groups of small fish were found 60 times in 1,000 m2. Conger, grouper, threadfin beam, lizard fish, grunter and squid that bigger than 5 cm length were found at station number 14, 29, 35 and 38 which bottom depth more than 65 meter. Large numbers of sea urchin were found, 858 individuals in area of 1000 m2, at station 25 near Aung Thong Marine National Park. High suspended solid was also observed in this untrawled area. Only small group of sessile invertebrate such as sponge was observed only at 5 stations; 11, 14, 28, 40 and 45.
การอ้างอิง
ละอองมณี, พ., อานุภาพบุญ, ศ., ศุกระมงคล, ณ., & พรหมจินดา, ส. (2013). ลักษณะพื้นทะเล และความชุกชุมของสัตว์น้ำหน้าดินในอ่าวไทย โดยใช้กล้องบันทึกวิดิทัศน์ใต้น้ำ. การสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลการสำรวจทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณอ่าวไทยตอนกลางโดยเรือสำรวจซีฟเดค ปี 2556 (pp. 204-210). สมุทรปราการ: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.