โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง: การปรับเปลี่ยนขนาดตาอวนพื้นท้องลอบปูม้า ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
Abstract
การติดตามผลการปรับเปลี่ยนขนาดตาอวนพื้นท้องลอบปูม้าบริเวณตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 - พฤษภาคม 2547 พบว่ามีจำนวนครัวเรือนที่ทำการประมงลอบปู 20 ครัวเรือน พบมากที่บ้านท่าแอตซึ่งใช้เรือหางยาวขนาด 6-11 เมตร เครื่องยนต์ 5-13 แรงม้า ชาวประมงลอบปูมีการทำการประมงหนาแน่นในแหล่งน้ำตื้นตามแนวชายฝั่งความลึก 2-5 เมตร บริเวณหน้าเกาะเตียบ เกาะพระ เกาะเอียง ขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ย 8.98 เซนติเมตร โดยมีจำนวนตัวที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ได้ร้อยละ 4.2 หลังการปรับเปลี่ยนมีความกว้างกระดองเฉลี่ย 9.06 เซนติเมตร โดยมีจำนวนตัวที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ได้ร้อยละ 4.18 ปูม้าเพศเมียที่จับได้ก่อนปรับเปลี่ยนมีความกว้างกระดองเฉลี่ย 8.71 เซนติเมตร โดยมีจำนวนตัวที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ (9.74 เซนติเมตร) โดยมีจำนวนตัวที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ร้อยละ 54.28 หลังการปรับเปลี่ยนมีความกว้างกระดองเฉลี่ย 9.00 เซนติเมตร โดยมีจำนวนตัวที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ได้ร้อยละ 51.98 ดังนั้นการปรับเปลี่ยนขนาดตาอวนพื้นท้องลอบปูมีผลทำให้การใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างเหมาะสมคุ้มค่ามากขึ้น และลดผลกระทบต่อทรัพยากรปูม้าลง
การรวมกลุ่มของชาวประมงลอบปูเพื่อการปรับเปลี่ยนพื้นท้องลอบจาก 1.2 นิ้ว เป็น 2.5 นิ้ว พบว่าในปี 2547 มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 21 คน จากสมาชิกเริ่มแรกเพียง 13 คน ในปี 2546 นอกจากนั้นชาวประมงลอบปูในพื้นที่โครงการฯ ทุกครัวเรือนได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ลอบปูพื้นท้องลอบ 2.5 นิ้ว แทน 1.2 นิ้วซึ่งใช้มาแต่เดิม
Citation
เพชรกำเนิด, จ., โรจนะรัตน์, ถ., รัตนพรหม, จ., & ไชยแก้ว, ข. (2547). โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง: การปรับเปลี่ยนขนาดตาอวนพื้นท้องลอบปูม้า ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม, ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.